ระบบประสาท, สืบพันธุ์, ต่อมไร้ท่อ
ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ มี ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของมนุษย์ การดูแลรักษาระบบต่างของร่างกายอย่างถูกต้อง จะส่งผลให้ระบบต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
๑. ระบบประสาท (Nervous System)๑.๑ โครงสร้างของระบบประสาทระบบ เป็นระบบศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก ควบคุมความคิด ถ้ามีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับสมอง ก็จะทำให้ร่างกายพิการหรือเสียชีวิตได้ ระบบประสาทแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ
๑) ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
๑. สมอง (Brain) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ อยู่ในกะโหลกศีรษะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๙ ปีและเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ ๑๘-๒๐ ปี สมองแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย
สมองส่วนหน้า (Fore brain) ประกอบด้วย
เซรีบัม (cerebrum) ทาลามัส (thalamus)
และไฮโพทาลามัส (hypothalamus)
และไฮโพทาลามัส (hypothalamus)
เซรีบัม ทำหน้าที่ด้านความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การได้ยิน การดมกลิ่น การทำงานของกล้ามเนื้อ
ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมอง
ไฮโพทาลามัส เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความดันเลือด ความต้องการทางเพศ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อและการแสดงอารมณ์ความรู้สึก
สมองส่วนกลาง (midbrain) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส
สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วย
เซรีเบลลัม (cerebellum) เมดัลลาออบกองกาตา (medulla obligation) และพอนส์ (pons)
เซรีเบลลัม (cerebellum) เมดัลลาออบกองกาตา (medulla obligation) และพอนส์ (pons)
สมองส่วนท้าย และหน้าที่
เซรีเบลลัม ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกาย และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
เมดัลลาออบลองกาตาหรือ ก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึก การอาเจียน
พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจ
๒.ไขสันหลัง (spinal cord) เป็น ส่วนที่ต่อมาจากก้านสมองอยู่ภายในกระดูกสันหลัง มีความยาวประมาณ 16-18 นิ้วสมองและไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางการรับรู้และการกระตุ้น ความรู้สึกจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก แล้วส่งผ่านไปยังเส้นประสาทที่กระจายตามส่วยต่างๆของร่างกาย
๒) ระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ เส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
๑.เส้นประสาทสมอง หรือเส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง มี ๑๒ คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น การมองเห็น การเคลื่อนไหวของตา
๒.เส้นประสาทไขสันหลัง มี ๓๑ คู่เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลังไปสู่ร่างกาย แขน ขา
๓) ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของประสาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจให้เป็นไปตามปกติ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
๑. ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nerve) เป็นระบบประสาทที่มักกระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน
๒.ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nerve) เป็นประสาทที่มักจะยับยั้งการทำงานมากกว่าที่จะกระตุ้นการทำงานเพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
แพทย์ศัลยกรรมประสาท คือ แพทย์ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยในโรคสมองและระบบประสาท
๑.๒ หน้าที่ของระบบประสาท
ส่วนรับความรู้สึก (sensory division) ทำหน้าที่ รับความรู้สึกจากภายนอกร่างกาย และตอบสนองความรู้สึกนั้นๆส่วนสั่งการ (motor division) ทำหน้าที่ การสั่งการกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูกจัดเป็นระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System : SNS) และสั่งการกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในต่อมต่างๆ จัดเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System : ANS)
๑.๓ การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาท
๑) ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสมรรถภาพของอวัยวะรับรู้ความรู้สึกของระบบประสาท เช่น การตรวจวัดสายตา การตรวจการได้ยิน๒) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง๓) หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด๔) ถนอมการใช้สายตา เช่น เปิดไฟดูโทรทัศน์ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน๕) พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย ๖-๘ ชั่วโมง และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ๖) ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ นาที จะทำให้ร่างกายแข็งแรง๗) สังเกตความผิดปกติของอวัยวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรไปพบแพทย์๘) รับประทานอาหารที่บำรุงสมอง เช่น อาหารที่มีโอเมกา ๓ อาหารที่มีเลซิติน อาหารที่มี วิตามินบี อาหารที่มีวิตามินอี
อ้างอิง https://sites.google.com/site/healthgrade6/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-2
อ้างอิง https://sites.google.com/site/healthgrade6/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น